|
|
||
|
|||
หน่วยที่ 4 สรุปสาระสำคัญกฎหมายแพ่ง |
|||
ข. คนไร้ความสามารถ | |||
คือ บุคคลวิกลจริตที่คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดานของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาล และศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถการสิ้นสุดแห่งการเป็นคนไร้ความสามารถ จะมีได้ในกรณีที่คนไร้ความสามารถถึงแก่ความตาย หรือเมื่อศาลได้สั่งเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถบุคคลที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาลของผู้อนุบาล ผู้อนุบาลของคนไร้ความสามารถ ได้แก่ บิดามารดา ในกรณีที่คนไร้ความสามารถยังมิได้ทำการสมรส หรืออาจจะเป็นภริยาหรือสามี ในกรณีที่คนไร้ความสามารถทำการสมรสแล้วนิติกรรมที่คนไร้ความสามารถได้ทำลงตกเป็นโมฆียะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือไม่ก็ตาม จะต้องให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำแทนข้อสังเกต คนวิกลจริตที่ศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถย่อมถือว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้มีความสามารถเหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป จึงสามารถทำนิติกรรม ใด ๆ ได้สมบูรณ์เว้นแต่ อาจจะเป็นโมฆียะได้ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่านิติกรรมนั้นได้ทำขึ้นในขณะที่ผู้นั้นวิกลจริตอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่ว่าผู้นั้นเป็นคนวิกลจริต | |||
ค. คนเสมือนไร้ความสามารถ | |||
คือ บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้เพราะมีกายพิการ จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ ติดสุรายาเมา และคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลแล้วศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถการสิ้นสุดแห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ จะมีได้ในกรณีที่บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเมื่อศาลได้สั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถจะตกอยู่ในความพิทักษ์ของบุคคลที่เรียกว่าผู้พิทักษ์ และจะถูกจำกัดความสามารถบางชนิด กล่าวคือ โดยหลักทั่วไปคนเสมือนไร้ความสามารถย่อมสามารถที่จะทำนิติกรรมใด ๆ ได้และมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่ นิติกรรมที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 เช่น การนำทรัพย์สินไปลงทุน การทำสัญญากู้ยืมหรือรับประกัน การประนีประนอมยอมความ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน หรืออสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 3 ปี เป็นต้น จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิฉะนั้นเป็นโมฆียะ | |||
นครินทร์ นันทฤทธิ์ |
|||
|
|||
|
|||