|
|
||
|
|||
สรุปสาระสำคัญความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย |
|||
การวินิจฉัยว่าข้อความใดเป็นกฎหมายหรือไม่ ให้พิจารณาดังต่อไปนี้ | |||
1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดขึ้นจากรัฏฐาธิปัตย์หรือไม่ คำว่า รัฏฐาธิปัตย์ คือผู้ซึ่งประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่า เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนย่อมมีอำนาจสูงสุด สำหรับอำนาจในการออกกฎหมายนั้นในระบอบประชาธิปไตย ถือว่ารัฐสภาเป็นผู้ใช้แทนปวงชนชาวไทย |
|||
2. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปในเขตประเทศนั้น หมายความว่า เมื่อประกาศใช้ออกมาแล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป ไม่ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือว่ากำหนดให้แต่บุคคลใดบุคคลหนึ่งต้องปฏิบัติตามเท่านั้น |
|||
3. ต้องมีสภาพบังคับ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามจะต้องได้รับผลตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า sanction ลักษณะของสภาพบังคับนั้น มีหลายประการด้วยกันไม่ว่าจะเป็นสภาพบังคับทางอาญา สภาพบังคับในทางแพ่ง และสภาพบังคับในด้านอื่น ๆ จะกล่าวรายละเอียดของสภาพบังคับพอสังเขป |
|||
3.1 สภาพบังคับทางอาญา ได้กำหนดวิธีการบังคับไว้ตามสภาพแห่งความผิดและกำหนดโทษแต่ละอย่างไว้ชัดแจ้งตามกฎหมายเฉพาะอย่าง ที่วางไว้ อาทิ ประมวลกฎหมายอาญา และตามพระราชบัญญัติอื่น มีการกำหนดโทษคือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน นอกจากนี้ หากเป็นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน จะมีสภาพบังคับที่แตกต่างออกไปได้แก่ การส่งตัวเด็กไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรมหรือสถานกักและอบรม เป็นต้น |
|||
3.2 สภาพบังคับในทางแพ่ง กฎหมายก็กำหนดไว้เช่นกันได้แก่ การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะ หรือโมฆียะ การบังคับชำระหนี้ การริบมัดจำ การเรียกเบี้ยปรับ การใช้ค่าเสียหายและการยึดทรัพย์ เป็นต้น |
|||
3.3 สภาพบังคับในด้านอื่น ๆ เกิดจากการที่กฎหมายไม่รับรู้หรือไม่รับรองการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้น อาทิ กฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญย่อมใช้บังคับมิได้ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายมหาชนอื่น ๆ เช่น การกระทำที่ขัดต่อพระราชบัญญัติงบประมาณย่อมเสียเปล่า เป็นต้น |
|||
นครินทร์ นันทฤทธิ์ |
|||
|
|||
|
|||