|
|
||
|
|||
หน่วยที่ 2 : สรุปสาระสำคัญ |
|||
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย |
|||
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540
|
|||
ความเป็นมาของกฎหมายวิชาชีพ |
|||
เดิมทุกวิชาชีพด้านสุขภาพอาทิ แพทย์ พยาบาล เภสัช ทันตกรรม อยู่ภายใต้บังคับ กฎหมายการแพทย์ (พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ.2466) ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะพ.ศ. 2479 ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพระราชบัญญัติการแพทย์ จนในท้ายที่สุดวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้ออกกฎหมายของตนเอง คือพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงของสังคมใน ฉบับที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2540 |
|||
แม้จะมีพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 ขึ้นแล้วก็ตามแต่พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะพุทธศักราช 2479 ยังคงมีผลใช้บังคับได้ เพียงแต่ถูกยกเลิกเฉพาะส่วนที่ควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและผดุงครรภ์แผนปัจจุบันเท่านั้น |
|||
คำนิยามที่ควรทราบ |
|||
การพยาบาล หมายความว่า การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการดูแลและการช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาล |
|||
การผดุงครรภ์ หมายความว่า การกระทำเกี่ยวกับการดูแลและการช่วยเหลือหญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอด และทารกแรกเกิด รวมถึงการตรวจ การทำคลอด การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดรวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์กระทำการักษาโรค ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ และศิลปะการผดุงครรภ์ |
|||
"ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลจากสภาการพยาบาล |
|||
"การประกอบวิชาชีพการพยาบาล" หมายความว่า การปฏิบัติหน้าที่การพยาบาลต่อบุคคล ครอบครัวและชุมชนโดยกระทำการต่อไปนี้ | |||
(1) การสอน การแนะนำ การให้คำปรึกษาและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย | |||
(2) การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการแก้ปัญหาความเจ็บป่วย การบรรเทาอาการของโรค การลุกลามของโรค และการฟื้นฟูสภาพ | |||
(3) การกระทำตามวิธีที่กำหนดไว้ในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค | |||
(4) ช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรคทั้งนี้โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาลในการประเมิน สุขภาพการวินิจฉัยปัญหา การวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล | |||
"ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพผดุงครรภ์จากสภาการพยาบาล |
|||
การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์" หมายความว่า การปฏิบัติหน้าที่การผดุงครรภ์ต่อหญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอด ทารกแรกเกิดและครอบครัว โดยการกระทำดังต่อไปนี้ | |||
(1) การสอน การแนะนำ การให้คำปรึกษาและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย |
|||
(2) การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของหญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอดและทารกแรกเกิด เพื่อป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด | |||
(3) การตรวจ การทำคลอด และการวางแผนครอบครัว | |||
(4) ช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค |
|||
ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการผดุงครรภ์ในการประเมินสภาพ การวินิจฉัยปัญหา การวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล |
|||
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์จากสภาการพยาบาล |
|||
นครินทร์ นันทฤทธิ์ |
|||
|
|||
|
|||