|
|
||
|
|||
หน่วยที่ 2 : พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ |
|||
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ |
|||
คณะกรรมการตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ | |||
1. บริหารกิจการสภาการพยาบาลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด | |||
2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรม คณะอนุกรรมการสอบสวน และคณะอนุกรรมการอื่น เพื่อทำกิจการหรือพิจารณาเรื่องต่างๆ อันอยู่นขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของสภาพยาบาล | |||
3. ออกข้อบังคับสภาการพยาบาลเกี่ยวกับ | |||
3.1 การเป็นสมาชิก | |||
3.2 การกำหนดโรคที่ไม่สามารถเป็นสมาชิกสามัญได้ | |||
3.3 การกำหนดค่าจดทะเบียนสมาชิกสามัญ ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ | |||
3.4 การเลือกและการเลือกตั้งกรรมการ และการแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา | |||
3.5 หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนและการออกใบอนุญาต | |||
3.6 หลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทาง และหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ | |||
3.7 ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ | |||
3.8 การรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ | |||
3.9การประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ | |||
3.10 หลักเกณฑ์การรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ | |||
3.11 หลักเกณฑ์ว่าด้วยการสอบความรู้ตามอำนาจหน้าที่ของสภาการพยาบาล | |||
3.12 หลักเกณฑ์ว่าด้วยการสืบสวนหรือสอบสวนในกรณีมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษว่ามีผู้ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ | |||
3.13 เรื่องอื่น ๆที่อยู่ภายในวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาลหรืออยู่ในภายในอำนาจหน้าที่ของสภาการพยาบาลตามกฎหมายอื่น | |||
นครินทร์ นันทฤทธิ์ |
|||
|
|||
|
|||