|
|
||
|
|||
สรุปสาระสำคัญความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย |
|||
กฎหมายมหาชน |
|||
เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับประชาชน ในฐานะที่รัฐมีอำนาจปกครองและอยู่เหนือกว่าประชาชนจึงมีสิทธิสั่งให้ประชาชนกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ ซึ่งประชาชนจำเป็นต้องปฏิบัติตาม ซึ่งสาขากฎหมายดังกล่าวได้แก่ รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา เป็นต้น |
|||
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่ากฎหมายใดเป็นกฎหมายมหาชน มีดังต่อไปนี้ คือ | |||
1. พิจารณาว่ากฎหมายนั้นกล่าวถึงกิจการของใคร หากเป็นกิจการของรัฐ คือ เป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวม เช่น เรื่องการปกครองบ้านเมืองก็เป็นกฎหมายมหาชน ถ้าเป็น กิจการส่วนตัวของเอกชน ก็เป็นกฎหมายเอกชน | |||
2. พิจารณาว่ากฎหมายนั้นให้ใครเป็นประธานแห่งสิทธิหรือเป็นผู้ทรงอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าองค์การของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ทรงอำนาจ มีอำนาจบังคับอีกฝ่ายหนึ่งได้ก็เป็นกฎหมายมหาชน แต่ในกรณีกฎหมายเอกชน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะเห็นได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ทรงสิทธิเท่ากัน คืออยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค | |||
3. พิจารณาว่ากฎหมายนั้นเคร่งครัดหรือไม่ หรือเปิดโอกาสให้มีการตกลงหลีกเลี่ยงได้ ถ้าเคร่งครัดหรือบังคับตายตัวทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ ก็เป็นกฎหมายมหาชน ถ้าผ่อนปรนยอมให้ตกลงกันได้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในกฎหมายได้เป็นส่วนใหญ่ ก็เป็นกฎหมายเอกชน | |||
นครินทร์ นันทฤทธิ์ |
|||
|
|||
|
|||