|
|
||
|
|||
หน่วยที่ 4 สรุปสาระสำคัญกฎหมายแพ่ง |
|||
ประเด็นทางกฎหมายที่พบบ่อยในการประกอบวิชาชีพในทางแพ่ง |
|||
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น |
|||
ศาสตราจารย์ไพจิตร ปุญญพันธุ์ ให้ความหมายว่า เป็นความรับผิดของบุคคลผู้หนึ่งในการกระทำละเมิดของบุคคลอีกผู้หนึ่ง โดยที่บุคคลที่ต้องรับผิดนั้นไม่ได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ทั้งนี้โดยมีบทกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องรับผิด |
|||
หากพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น จะเห็นว่าในบทบัญญัติดังกล่าวนั้นจะกล่าวเฉพาะนายจ้างกับลูกจ้าง ดังนั้นต้องศึกษาเกี่ยวกับความหมายของนายจ้างและลูกจ้างว่าคืออะไร นายจ้างเป็นบุคคลซึ่งมีคำสั่งและควบคุมงานลูกจ้าง ส่วนลูกจ้างเป็นเพียงบุคคลที่อยู่ภายใต้คำสั่งของนายจ้างและต้องเชื่อฟังคำสั่งของนายจ้าง |
|||
กรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพฯที่ทำงานในส่วนของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล สถานีอนามัย เป็นต้น นั้นจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ หากมีการทำละเมิดเกิดขึ้น เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ มุ่งคุ้มครองการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เว้นแต่ว่าการละเมิดเกิดจากการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง กฎหมายจะไม่คุ้มครอง |
|||
ส่วนผู้ประกอบวิชาชีพฯทำงานในสถานพยาบาลเอกชน ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล ต่าง ๆนั้นจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ |
|||
ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากทรัพย์ |
|||
เป็นความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลหรือทรัพย์อันตราย บุคคลที่ต้องรับผิด ได้แก่ ผู้ครอบครองหรือควบคุมสำหรับทรัพย์อันตราย |
|||
อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นความรับผิดเอาไว้ คือ หากพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือความผิดของผู้ต้องเสียหายเอง | |||
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด |
|||
ความมุ่งหมายในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นหลักการพื้นฐานก็คือ ให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อยังไม่มีการกระทำละเมิด ศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่าค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใด ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด |
|||
จบหน่วยที่ 4 |
|||
นครินทร์ นันทฤทธิ์ |
|||
|
|||
|
|||