|
|
||
|
|||
หน่วยที่ 3 สรุปสาระสำคัญกฎหมายอาญา |
|||
ความผิดฐานทำให้แท้งลูก |
|||
4. การทำแท้งที่ไม่ต้องรับโทษ ตามมาตรา 304 ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ มาตรานี้เป็นบทยกเว้นโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือ มาตรา 302 วรรคแรก ซึ่งการพยายามกระทำความผิด หมายถึง การลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอดหรือลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล เป็นต้น ตัวอย่างเช่น นางสาว เขียว มีครรภ์ ประสงค์ทำแท้งโดยวิธีกินยา พอเอายาใส่ปากแล้วคายทิ้ง ดังนี้ไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 304 เป็นต้น |
|||
5. การทำแท้งโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 305 บัญญัติไว้ว่า ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และมาตรา 302 นั้นเป็นการกระทำของแพทย์และ | |||
1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ |
|||
2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากกระทำความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรือมาตรา 284 |
|||
ผู้กระทำไม่มีความผิดมาตรานี้เป็นบทยกเว้นความผิดของการทำแท้ง คำว่า นายแพทย์ หมายถึงผู้มีอาชีพเป็นแพทย์ไม่จำกัดว่าต้องเป็นชาย แต่ต้องเป็นแพทย์ที่ประกอบโรคศิลปะสาขาเวชกรรม ตามพระราชบัญญัติ วิชาชีพเวชกรรม ก็สามารถที่ทำแท้งได้ อย่างไรก็ดี ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด คือต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น ส่วนกรณีที่หญิงเป็นโรคซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารก เช่นทำให้ทารกคลอดออกมาพิการ แต่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของหญิง ถือว่าไม่เป็นกรณีจำเป็นตามมาตรา 305 แพทย์ไม่สามารถทำแท้งได้ ส่วนคำว่า หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรือมาตรา 284 หมายความว่า ถ้ามีการกระทำความผิดอาญาตามมาตราดังกล่าว และหญิงที่ตั้งครรภ์ยินยอมให้แพทย์ทำแท้ง แพทย์ก็สามารถทำแท้งได้ |
|||
นครินทร์ นันทฤทธิ์ |
|||
|
|||
|
|||