|
|
||
|
|||
หน่วยที่ 3 สรุปสาระสำคัญกฎหมายอาญา |
|||
ข้อสังเกต ความผิดอาญาในบางเรื่อง กฎหมายกำหนดให้ผู้ซึ่งมีการกระทำอันครบองค์ประกอบภายนอกต้องรับผิดทันทีโดยไม่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบภายใน กล่าวคือ แม้ผู้กระทำจะไม่เจตนาและไม่ประมาท ผู้กระทำซึ่งมีการกระทำอันครบองค์ประกอบภายนอกก็ต้องมีความผิด ประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติเกี่ยวกับความผิดที่ผู้กระทำไม่ต้องเจตนาและไม่ต้องประมาทไว้ในความผิดลหุโทษ นอกจากนั้นยังมีพระราชบัญญัติอื่น อีกบางเรื่อง ความผิดลหุโทษเป็นความผิดเล็กๆน้อย ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 บัญญัติไว้ว่า ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามานี้ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น มาตรา 369 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ประกาศภาพโฆษณาหรือเอกสารใดที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้ หรือสั่งให้ปิดหรือแสดงไว้หลุดฉีกหรือไร้ประโยชน์ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท จะเห็นว่าองค์ประกอบภายนอก มีดังนี้คือ |
|||
1. กระทำด้วยประการใด ๆ |
|||
2. ให้ประกาศ ภาพโฆษณาหรือเอกสารใดที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้หรือสั่งให้ปิดหรือแสดงไว้ |
|||
3. หลุด ฉีก หรือไร้ประโยชน์ |
|||
ตัวอย่าง |
|||
ฎ. 59/2473 จำเลยรื้อถอนประกาศเรื่องราวที่ราษฎรขอจับจองที่ดิน ซึ่งกรมการอำเภอประจำท้องที่ได้ปิดประกาศไว้ โดยจำเลยอ้างว่ามีเหตุผลพอในการถอนประกาศนั้น เนื่องจากจำเลยมีสิทธิในที่ดินนั้นดีกว่าผู้ที่ขอจับจองและจำเลยไม่มีเจตนาร้ายในการกระทำเพราะจำเลยไม่ได้ทำให้ประกาศนั้นเป็นอันตราย แต่นำประกาศนั้นพร้อมด้วยคำคัดค้านส่งไปยังอำเภอ การกระทำของจำเลยเพียงบังอาจรื้อถอนประกาศก็เป็นความผิด โดยมิพักต้องคำนึงถึงเจตนาร้ายของจำเลยหรือสาเหตุอื่นใด | |||
นครินทร์ นันทฤทธิ์ |
|||
|
|||
|
|||