|
|
||
|
|||
หน่วยที่ 2 : พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ |
|||
รูปแบบการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการจริยธรรม |
|||
1. การสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง กรณีเรื่องร้องเรียน /กล่าวโทษ |
|||
เมื่อสภาการพยาบาลได้รับเรื่องร้องเรียน/กล่าวโทษจากที่ต่าง ๆแล้ว เลขาธิการสภาการพยาบาลจะพิจารณาเรื่องและเสนอให้ประธานคระอนุกรรมการจริยธรรมพิจารณาโดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ คือ |
|||
1) มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการสภาการพยาบาลสืบหาข้อมูลเบื้องต้น เช่น ประเภทประกอบวิชาชีพ หมายเลขสมาชิก เลขที่ใบอนุญาต ฯลฯ เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าผู้ที่ถูกร้องเรียนเป็นสมาชิกที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาการพยาบาลหรือไม่ |
|||
2) ประชุมคณะอนุกรรมการจริยธรรมพิจารณาเรื่องร้องเรียนตามข้อมูลเบื้องต้นและอาจมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือมอบหมายให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมชุดสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง ดำเนินการสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง และสรุปรายงานเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการจริยธรรมเมื่อสืบสวนเสร็จสิ้น |
|||
3) ประชุมคณะอนุกรรมการจริยธรรมพิจารณารายงาน โดยที่ประชุมอาจมีมติให้แสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือให้ข้อคิดเห็นในเรื่องที่คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯชุดนั้นๆ เสนอและมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการสรุปรายงานพร้อมความเห็นเสนอคณะกรรมการสภาการพยาบาลเพื่อพิจารณา |
|||
4) เมื่อคณะกรรมการสภาการพยาบาลพิจารณาแล้ว อาจมีมติให้ |
|||
1. คณะอนุการการจริยธรรมสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม |
|||
2. ยกข้อกล่าวหา ในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล |
|||
3. ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำการสอบสวนต่อไป |
|||
5) เมื่อคณะอนุกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนแล้ว คณะกรรมการสภาการพยาบาล โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด |
|||
นครินทร์ นันทฤทธิ์ |
|||
|
|||
|
|||