|
|
||
|
|||
หน่วยที่ 2 : พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ |
|||
หมวด 3 |
|||
การประกอบวิชาชีพการผดุงภรรภ์ |
|||
อย่างไรก็ดีเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพ กระทำความผิดจะต้องถูกสอบสวนและถูกลงโทษทางจริยธรรม ซึ่งกระบวนการสอบสวนจะเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มาตรา 33 วางหลักไว้ว่า บุคคลที่ได้รับความเสียหายเพราะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพและการผดุงครรภ์ บุคคลดังกล่าวมีสิทธิกล่าวหาผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น โดยทำเรื่องยื่นต่อสภาการพยาบาล นอกจากนี้ การพิจารณาความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพฯ ตาม มาตรา 33 อาจมาจากการกล่าวโทษของกรรมการสภาการพยาบาลตามที่ได้รับข้อร้องเรียน ต่าง ๆ ดังนี้ คือ |
|||
1. การร้องเรียนด้วยการทำหนังสือถึงสภาการพยาบาลโดยตรง ผู้ร้องเรียนอาจได้แก่ ผู้เสียหายซึ่งได้รับความเสียหายจากการประกอบวิชาชีพฯ เช่น ผู้ป่วย ผู้รับบริการ ผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพและบุคคลอื่น หรือจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย เช่น ญาติผู้ป่วย ญาติผู้รับบริการและบุคคลผู้รู้เห็นเหตุการณ์โดยผู้ร้องจะต้องแจ้งชื่อที่อยู่ของตนเป็นที่แน่นอน พร้อมทั้งระบุกรณีที่กล่าวหา ซึ่งมีมูลกรณีเพียงพอที่จะสามารถดำเนินการสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงได้ |
|||
2. การร้องเรียนผ่านสื่อต่าง ๆ เช่นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์และสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ โดยอาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพโดยรวม |
|||
3. การกล่าวโทษของกรรมการสภาการพยาบาล ซึ่งกรรมการอาจรู้เห็นหรือสงสัยว่าผู้ประกอบวิชาชีพในหน่วยงานของตนหรือหน่วยงานอื่นประพฤติผิดจริยธรรม หรือมีผู้บอกให้รู้หรือพบเห็นจากการตรวจสอบการปฏิบัติงานหรือพบเห็นจากพยานเอกสาร |
|||
4. การร้องเรียนผ่านหน่วยงานอื่น ๆและหน่วยงานนั้นพิจารณาว่ามีเหตุเห็นควรให้ต้องพิจารณาในส่วนของความประพฤติในการประกอบวิชาชีพฯ จึงเสนอเรื่องมายังสภาการพยาบาลเพื่อพิจารณา เช่น แพทยสภา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กองการประกอบโรคศิลปะ หรือองค์กรของหน่วยงานเอกชน เป็นต้น |
|||
5. การพิจารณาความประพฤติด้านจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ ฯ จากผลการสอบสวนและคำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข |
|||
อย่างไรก็ดี การร้องเรียนด้วยบัตรสนเท่ห์ที่มิได้ระบุที่มาหรือชื่อ-สกุล ได้มีมติคณะรัฐมนตรีแจ้งโดยหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นว 148/2502 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2502 ว่าไม่ควรรับไว้พิจารณาเว้นแต่รายที่ระบุพยานหลักฐานกรณีแวดล้อม ปรากฎชัดแจ้ง ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอน |
|||
นครินทร์ นันทฤทธิ์ |
|||
|
|||
|
|||